10 พฤติกรรมที่อาจจะเปลี่ยนหลัง Covid-19

Last updated: 21 ก.ค. 2563  |  637 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 พฤติกรรมที่อาจจะเปลี่ยนหลัง Covid-19

มีการคาดการณ์ว่า หลังจากโลกได้ผ่านพ้นวิกฤตไวรัส Covid-19 ไปแล้ว พฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนทั่วโลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หรือที่เราเรียกกันว่า new normal เกิดใหม่กลายเป็นพฤติกรรมปกติ ในยุคใหม่ ที่ถือเป็นมาตรฐาน กลายเป็นเรื่องปกติ หลังจากผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไป ทั้งเรื่องการจับจ่ายใช้สอย การดำรงชีพ การทำงาน และการเกิดธุรกิจใหม่ อันเกิดจาก การปรับตัวระหว่างมีสถานการณ์ไวรัสแพร่ระบาด ฉะนั้น เราลองมาดูกันดีกว่า ว่า 10 พฤติกรรมของคนที่จะเปลี่ยนไปหลังจากหมดไวรัสโควิดนั้น มีอะไรบ้าง
 

 



1. คนหันมาให้ความสำคัญกับทรัพยากรอาหารมากเป็นอันดับต้น ๆ

ซึ่งในการจับจ่ายซื้อสินค้าบริโภคเพื่อกักตุนนั้นพบว่า ส่งผลถึงดัชนีค้าปลีกในช่วงเดือนที่ 2 ของปี 2020 เติบโตขึ้นถึง 2-3% ในส่วนของภาคกลาง ส่วนแถบอีสานพบว่ามีความเติบโตของดัชนีค้าปลีกถึงกว่า 3% เลยทีเดียวนอกจากนั้นคนส่วนใหญ่ยังสนใจที่จะเริ่มทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เท่าที่จะทำได้ไว้เป็นแหล่งอาหารของตนและครอบครัว แม้แต่คนที่อาศัยตามตึกแถว ทาวเฮ้าส์และอพาร์ทเม้นในเมืองก็หันมาตื่นตัวเพาะปลูกพืชผักง่าย ๆ ในเนื้อที่จำกัด เนื่องจากเมื่อถึงคราววิกฤตแม้จะมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่สามารถหาซื้ออาหารได้

 

 

 

2. พฤติกรรมทางการเงินที่เปลี่ยน


จากสถานการณ์ไวรัส Covid-19 ที่ส่งผลกระทบไม่เพียงแต่แค่การดำรงชีวิต ที่เปลี่ยนไป แต่ยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นวงกว้างทั่วโลก ทำให้หลายบริษัทต้องถูกปิดตัว มีการเลิกจ้าง ลดเงินเดือน Leave without Pay หรือสลับวันหยุด ส่งผลให้รายได้ลดลง หรือร้ายแรงสุดคือ การเลิกจ้างแบบไม่จ่ายเงินเดือน รายได้ของประเทศของเราอิงจากรายได้การท่องเที่ยวที่ได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นรายได้หลักอันดับต้น ๆ แต่รายได้ตรงส่วนนี้จะหายไปอย่างมหาศาลเห็นได้จากการแถลงของธนาคารแห่งประเทศไทยคาดเดาว่าเศรษฐกิจที่เคยมีแหล่งรายได้หลักจากการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ
เมื่อเกิดวิกฤติโควิด 19 และมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนทั่วโลกไปนับจากนี้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยติดลบถึงร้อยละ 5.3 และจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาทั้งหมดน้อยกว่า 15 ล้านคน ลดลงจากปีก่อนประมาณ 25 ล้านคน จากรายได้ที่นักท่องเที่ยวนำมาใช้จ่ายคนละห้าหมื่นบาทโดยเฉลี่ย จะส่งผลให้รายรับจากนักท่องเที่ยวหายไปถึง 1.25 ล้านล้านบาท สูญเสียไม่ต่ำกว่า 7 % ของจีดีพีไทยเมื่อนำมาเทียบกับปีที่ผ่านมา คนไทยจึงต้องรักเข็มขัดและระวังในการใช้เงินอย่างมาก ซึ่งเมื่อทั่วโลกผ่านพ้นวิกฤตครั้งใหญ่ครั้งนี้ไปได้แล้ว เชื่อได้เลยว่า คนส่วนใหญ่จะหันมาให้ความใส่ใจ ในเรื่องของการวางแผนการเงินกันมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องของเงินออม เงินสำรองฉุกเฉิน การสร้างหนี้ให้น้อยลง และการลงทุน เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต ในครั้งหน้าให้ดียิ่งขึ้น นั้นแปลว่า ผู้คนจะจับจ่าย หรือใช้จ่ายเงินได้ยากมากยิ่งขึ้น ต้องผ่านระบวนการคิด มากกว่าการใช้อารมณ์ เพื่อเลือกสิ่งที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

 

 

3. มีความสุขกับการอยู่บ้านมากขึ้น ท่องเที่ยวนอกบ้านและต่างประเทศน้อยลง


ตราบใดที่ผู้คนยังมีความรู้สึกกังวลในเรื่องของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นได้ทุกที่ ทุเวลาอย่างไม่คาดฝัน สิ่งนี้จะทำให้ผู้คนใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากยิ่งขึ้นเพราะทำให้รู้สึกปลอดภัย กิจกรรมต่าง ๆ ในวันหยุด ช่วงเวลาว่างจะเป็นกิจกรรมที่ทำได้ที่บ้าน เช่นงานอดิเรกต่าง ๆ การดูทีวี การออกกำลังที่ทำได้จากเครื่องออกกำลังแบบต่าง ๆ ในบ้าน แม้แต่การช้อปปิ้งก็เลือก ช้อปปิ้งที่บ้านมีการนำเอา เทคโนโลยีเช่น เทคโนโลยี AR หรือ VR ทดลองสินค้ามาทดลองสินค้า มีการสำรวจว่าคนเอเชียกว่า 55% และคนทั่วโลกกว่า 51% เลือกใช้ เทคโนโลยีดังกล่าวในการทดลองสินค้า เช่น แอปพลิเคชั่นลองเสื้อผ้า แอปพลิเคชั่นลองเครื่องสำอางแต่งหน้าแบบเสมือนจริง และสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ จากเดิมที่เคยใช้เวลาเดินห้างสรรพสินค้าหรือออกนอกเมืองนอกประเทศเพื่อไปท่องเที่ยวก็จะลดน้อยลง เดินทางกันเฉพาะเมื่อจำเป็น

 

 

4. ใส่ใจเรื่องของสุขภาพ มากยิ่งขึ้น


สิ่งหนึ่งที่จะเปลี่ยนไปเลย ใน new normal หลังจากนี้ คือ คนจะให้ความใส่ใจ ในเรื่องของความสะอาดมากยิ่งขึ้น หลายเท่าตัว ทั้งเรื่องการใช้ขนส่งสาธารณะ การจับราวบันได ราวรถเมล์ การหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ การใช้ของร่วมกับส่วนรวม ทุกอย่างในการชีวิตประจำตัว ที่จะมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติ ที่ทุกคนใส่ใจ และให้ความสำคัญ มีการค้นขว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองเกี่ยวกับโรคใหม่ๆและพร้อมกับการปรับตัวและตั้งรับในความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดูเป็นอันตรายมากขึ้น
 
 

 

5. การชำระเงิน แบบ Cashless ได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดด


สังคมไร้เงินสด ถูกบังขับให้ทุกคนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และทำให้เราเข้าสู้ยุคไร้เงินสด แบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นตลาดสด ร้านขายของชำ ร้านข้าวในซอยบ้าน หรือ Street food รถรับจ้าง รวมถึงการบริจาค ต่าง ๆ จะถูกผลักดันไปสู่สังคมไร้เงินสดแบบเต็มตัว อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้วยตัวขับเคลื่อนที่ทรงพลัง ที่เรียกว่า“ไวรัส Covid-19” เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่า ธนบัตร หรือเงินสด นั้นเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคมากมายชั้นดี ที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายที่สุด และเพื่อสุขอนามัยของตัวเอง คนเลยพยามปรับตัวไปใช้การชำระเงินผ่าน QR Code หรือโอนเงินให้กัน แทนการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการรูปแบบเก่ามากยิ่งขึ้น
จากแนวโน้มที่คนไทยหันมาใช้ เงินในรูปแบบ Mobile Banking ในช่วงก่อนหน้ามีสถานการณ์วิกฤติโควิด ในปีที่แล้ว จำนวนมากถึง 74% ต่อจำนวนคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต คนไทยเป็นประเทศที่ใช้ Mobile Banking มากที่สุดในโลกไปแล้ว ซึ่งแซงสถิติของคนในประเทศสวีเดน (71%) และ เกาหลีใต้ (66%)ที่เคยครองสถิติมากที่สุด และหลังวิกฤติครั้งนี้พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่จะยิ่งทำให้สถิตินี้เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน เป็นเรื่องที่สร้างความฮือฮาไม่น้อยในงาน VISA Security Summit ที่จัด ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายผ่านออนไลน์ ซึ่งประเทศจีนก็ได้ขึ้นแท่นเป็นเบอร์หนึ่งในหลายๆด้าน ด้วยความที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดกันไปเรียบร้อย แต่ประเด็นที่สร้างความฮือฮาในงานที่สุดก็คือตัวเลขการซื้อขายผ่านทางโทรศัพท์ที่ประเทศจีนเป็นอันดับ 2 และมีการเปิดเผยว่าประเทศไทยขึ้นแท่นเป็นอันดับ 1 เหนือจีน หรืออเมริกาซะอีก

 

 

6.ผู้คนหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการรวมตัวของฝูงชนจำนวนมาก


จากเหตุการณ์ระบาดโควิด 19ครั้งนี้ คนทั่วโลกได้เรียนรู้ว่ามีปรากฏการณ์ที่ผู้คนไปรวมตัวกันอย่างแออัด ทำให้ไวรัสแพร่กระจายที่เรียกกันว่า ปรากฏการณ์ Super Spreader ทั่วโลกหลายครั้ง เช่นที่ประเทศไทยเรา ในการเกิด Super Spreader ที่สนามมวยลุมพินีเป็นที่แรกมีคนเข้าไปชมการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 2500-3000 คนทำให้ยอดติดเชื้อพุ่งขึ้นภายในเหตุการณ์เดียวหลายสิบราย กลุ่มคนที่ไปเที่ยวสถานบริการย่านทองหล่อ กลุ่มคนที่ไปรวมตัวกันเพื่อประกอบศาสนพิธีที่มาเลเซีย ทั้ง 3 เหตุการณ์นี้เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดว่า การรวมตัวกันของกลุ่มคนทำให้คนที่มีเชื้อไวรัสเพียงคนเดียว สามารถแพร่เชื้อให้ผู้คนได้มหาศาลภายในครั้งเดียวในเวลาอันสั้น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการดูคอนเสิร์ต เชียร์กีฬา การรวมตัวกันในเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ กิจกรรมเหล่านี้จากเดิมที่เราเคยเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีสีสันมีฝูงชนจำนวนมากมารวมตัวกัน หลังจากนี้จะพบว่าผู้คนจะบางตาลงและหลีกเลี่ยงการไปรวมตัวกันมาก ๆ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะมีการเข้มงวดในเรื่องการตรวจตราสกรีนผู้เข้าร่วมงานมากขึ้นด้วยและมีการจำกัดจำนวนคนที่เข้าร่วมงานอย่างชัดเจน หลังจากนี้เราคงยังต้องคอยจับตามองว่ากิจกรรมต่างๆที่จำเป็นต้องมีการเข้าร่วมของคนจำนวนมากจะถูกปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าร่วมไปในทิศทางใด เนื่องจากหลายประเทศยังคงอยู่ในช่วงวิกฤตกิจกรรเหล่านี้จึงมีการยกเลิกจำนวนมากเลยยังทำให้ไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจน
 
 

 

7. วิธีการของการเรียนการสอนในสถาบันต่าง ๆ มีการเรียนในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น


ด้วยสถิติของ UNESCO ได้ชี้ให้เห็นว่า ในตอนนี้มีนักเรียนนักศึกษาทั่วโลกมากกว่า 636 ล้านคนได้รับผลกระทบไม่สามารถทำกิจกรรมการเรียนและรับการสอนได้จากสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 จากเดิมในวิถีชีวิตปกติก่อนที่จะมีไวรัส โควิด 19 ระบาด ตามสถานศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะในโรงเรียนทั้งระดับ อนุบาล ประถม และมัธยม นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนเป็นเรื่องปกติ ทุกวิชาที่มีการเรียนการสอนจะเน้นการมาเข้าเรียนและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน แต่ต่อจากนี้ new normal ของระบบการศึกษาทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองจะเปลี่ยนไป จะมีการเรียนผ่านวิธีออนไลน์มากขึ้นอย่างมาก วิชาใดที่เป็นวิชาเน้นทฤษฎีและการบรรยายนักเรียนนักศึกษาจะได้รับอนุญาตให้เรียนอยู่ที่บ้านเป็นเรื่องปกติ และวิชาปฏิบัติจะถูกนำเอาเทคโนโลยีของ VR (Virtual Reality) หรือ การจำลองสถานที่ขึ้นมาเป็นโลกเสมือนทำให้เกี่ยวข้องกับการมองเห็น โต้ตอบได้ผ่านอุปกรณ์) AR( Augmented Reality)หรือการนำวัตถุ 3 มิติ มาจำลองสู่โลกจริง และ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาในห้องเรียนร่วมกันน้อยลงเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรค

 

 

8. คนทำงานที่บ้านมากขึ้น และขนาดออฟฟิศมีขนาดเล็กลง


หลายบริษัท มีมาตรการให้พนักงาน Work from Home เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผลพลอยได้อีกอย่างนอกจากการลดการติดเชื้อแล้ว คือ ทดลองระบบการทำงานจากที่บ้าน และหลายๆธุรกิจประสบความสำเร็จ ในการบริหารจัดการการทำงานแบบ Work from Home ที่ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ได้ผลงานที่มากขึ้น และพนักงานมีความสุขมากยิ่งขึ้น ทำให้หลายองค์กรมีแนวคิดที่จะปรับไซส์ขนาดออฟฟิศให้มีขนาดเล็กลง เหลือเพียงเฉพาะส่วนงานที่สำคัญ อยู่ที่ Head Office เพียงเท่านั้น ส่วนงานที่เหลือสามารถประชุม ส่งงาน ติดตามงาน ผ่านระบบออนไลน์ ได้ทั้งหมด ถือเป็นการเกิดใหม่ของ new normal ที่กำลังได้รับความสนใจ

 

 

9. คนจะเริ่มปรึกษาอาการป่วยทาง video call กับทางหมอ เพื่อปรึกษาอาการเบื้องต้น


ในยุคที่เรื่อง Privacy เป็นเรื่องสำคัญ การปรึกษอาการป่วยเบื้องต้น เพื่อขอคำแนะนำเบื้องต้นในการรักษา จากที่บ้านจึงมีความสำคัญ อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลา ในการรอคิว การเดินทาง ค่าใช้จ่าย วันหยุดการทำงาน รวมถึงความเป็นส่วนตัว ทำให้คนเริ่มที่หันมาเลือกใช้บริการ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ผ่าน Video Call กับคุณหมอ ได้ตลอดเวลาที่สะดวก ถือเป็นอีกหนึ่งใน new normal ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ให้กับทั้งสองฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 

 

10. สวมใส่หน้ากากอนามัย กันเป็นเรื่องปกติ ใครไม่ใส่จะถูกมองว่าเป็นคนแปลก


Gadget อีกสิ่งอย่างหนึ่ง ที่ต่อไปจะกลายมาเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเลยคือ การใส่แมส ที่ใส่เพื่อป้องกันทั้งการติดเชื้อโรค และลดการแพร่แพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งหลังจากวิกฤติผ่านพ้นไป คนจะหันมาใส่แมสกันเป็นเรื่องปกติ ใครที่ไม่ใส่ อาจจะถูกมองว่าแปลก เพราะทุกคนต่างกังวล และใส่ใจใรเรื่องของเชื้อโรคกันมากยิ่งขึ้น
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับ new normal หรือ 10 พฤติกรรมของคนที่จะเปลี่ยนไปหลังผ่านพ้นช่วงวิกฤตการณ์ระบาดของไวรัส Covid-19 ซึ่งทั้งภาคธุรกิจ หรือคนทั่วไป แนะนำให้เตรียมรับมือกับพฤติกรรมใหม่ๆ ของลูกค้า หรือผู้บริโภคที่จะกำลังปรับเปลี่ยนไป

 

 

ข้อมูลบางส่วนจาก :
https://www.brandbuffet.in.th/2020/04/nielsen-changing-consumer-behavior-in-covid19/?fbclid=IwAR0uHOyOcO1X2Oi20GFmIb8aTM_iXQtExITa5mQZTR6ddYmAaCUmhVC0D14
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_10Apr2020.aspx
https://droidsans.com/thailand-mobile-banking-2019-to-cashless-society/
รูป จาก pixels
พี่เหมียวโอโซจิ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้